การซื้ออุปกรณ์เหล่านี้คล้ายกับการสมัครสมาชิกฟิตเนสสักที่นึง ก่อนที่เราคิดจะซื้อ Activity tracker คงมีความคิดประมาณว่า "สายรัดข้อมืออันนี้แหล่ะจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงขีวิตเรา บอกลากับชีวิตที่ไม่ได้ดูแลสุขภาพซะที" ... 3 เดือนถัดมา เมื่อเรารู้สึกไม่เห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทำให้เราเลิกใส่ไปดื้อๆ

ผลวิจัยในอเมริกา ชี้ให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ซื้ออุปกรณ์ wearable ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาออกกำลังกาย สายรัดข้อมือ Activity tracker หรือ แม้แต่นาฬิกาอัจฉริยะที่มีฟีเจอร์เกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ เลิกใส่อุปกรณ์นั้นๆภายใน 6 เดือน

แล้วจะทำยังไงให้เราไม่อยู่ในสถิตินั้นๆล่ะ? เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้เราเปลี่ยน Activity tracker เป็นเครื่องมือในการใช้ชีวิตของเราอย่างยั่งยืน

 

อย่าคาดหวังว่ามันคือของวิเศษ

แค่ใส่สายรัดข้อมือ หรือ นาฬิกา ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ร่างกายคุณพัฒนา อุปกรณ์เหล่านี้เป็นแค่เครื่องมือ ถ้าใช้มันอย่างถูกวิธี มันจะกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ร่างกายคุณพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

อุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถมาแทนที่ความมุ่งมั่นและความตั้งใจของเราได้ ถ้าจะให้เกิดผลต่อร่างกาย ต้องเริ่มจากการมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะออกกำลังกายและพัฒนาตัวเองซะก่อน จึงค่อยมองหา Activity tracker สักตัวเพื่อใช้เป็นตัวช่วย

 

ลืมการนับแคลอรี่ที่เบิร์นไปซะ

Activity tracker ที่ใช้นับก้าวได้อย่างเดียว ส่วนใหญ่การวัดแคลอรี่ที่เบิร์นมักจะไม่ค่อยแม่นยำนัก เพราะว่าการวัดแคลอรี่นั้นคำนวนจาก อายุ เพศ ความสูง และ น้ำหนัก 

การวัดแคลอรี่ที่เชื่อถือได้ ต้องคำนวนจากระดับชีพจร ถ้าค่อนข้างซีเรียสเรื่องของแคลอรี่ ต้องเลือก Activity tracker ที่สามารถเชื่อมต่อกับสายคาดหน้าอกวัดชีพจร หรือ ที่มีเซ็นเซอร์วัดชีพจรในตัว จะช่วยให้เราเห็นค่าแคลอรี่ที่เบิร์นได้แม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณเบิร์นได้เยอะแล้ว อย่าใช้จำนวนแคลอรี่ที่เบิร์นเป็นข้ออ้างเพื่อจะกินสิ่งไม่มีประโยชน์เข้าไปล่ะ 

 

ตั้งเป้าหมายวันต่อวัน

Application ของนาฬิกาออกกำลังกายส่วนใหญ่ถูกตั้งค่าเป้าหมายจำนวนก้าวต่อวันมาให้แล้ว ถ้าการใช้ชีวิตของคุณในแต่ละวันมันสามารถทำลายเป้าหมายนั้นๆได้อยู่แล้ว การใช้ Activity tracker ก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร

ดั่งนั้น เราต้องเริ่มกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายแบบใหม่ให้กับตัวเองเพื่อทำลายเป้าหมายในแต่ละวัน แล้วถ้าเริ่มรู้สึกว่าเป้าหมายใหม่นี้กลายเป็นของง่ายไปแล้ว ให้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายที่ยากขึ้นกว่าเดิมไปเรื่อยๆ แบบนี้แหล่ะจะทำให้ร่างกายเราพัฒนาขึ้นได้จริงๆ

 

ท้าทายตัวเองเล็กน้อย

Activity tracker คอยบันทึกข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่มันไม่สามารถเปลี่ยนอุปนิสัยของผู้ใส่ได้โดยตรง การเปลี่ยนนิสัยความแอคทีฟของเรานั้นต้องสร้างความท้าทายในระหว่างวัน เช่น เดินให้จำนวนก้าวมากขึ้นกว่าเดิมระหว่างที่เดินไปทานอาหารกลางวัน หรือ ไม่นั่งอยู่กับที่ติดต่อกันนานเกิน 3 ชั่วโมง เป็นต้น ความท้าทายเล็กๆเหล่านี้ช่วยให้เราเน้นการทำกิจกรรมในระหว่างวัน ไม่ใช่มุ่งแต่ผลลัพธ์ของแต่ละวัน

 

เข้าร่วม Social

ถึงแม้ว่าเราจะได้เหรียญ โล่ รางวัลจาก App เมื่อเราทำลายเป้าหมายไปแล้ว สิ่งสำคัญที่จะเพิ่มความสนุกให้กับการออกกำลังกายของเราคือเพื่อนๆและครอบครัว 

หากเรามีคนที่ใช้ Activity tracker เหมือนกัน เชิญชวนเข้ามาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน มันจะทำให้เราเห็นความแอคทีฟของคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้อย่างดีและทำให้แผนการออกกำลังกายของเรากับคนอื่นๆ ดำเนินต่อไปได้อีกนาน ไม่ล้มเลิกง่ายๆ

 

ให้รางวัลตัวเอง

รางวัลที่เราได้รับใน app คงเทียบไม่ได้กับรางวัลในโลกแห่งความจริง เมื่อใดก็ตามที่เราได้รับรางวัลจากใน app ให้เราหยอดกระปุกออมสินครั้งละ 20 บาท เมื่อครบเดือนให้ลองเปิดกระปุกออมสินออกมาดูความสำเร็จในแต่ละเดือนของเรา วิธีนี้ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง แถม สุขภาพการเงินแข็งแรงตามไปอีกด้วย

 

มุ่งไปที่การเคลื่อนไหวไม่ใช่จำนวนก้าว

เพื่อที่จะเพิ่มพลังความฟิตและให้ร่างกายมีสุขภาพดี เราต้องไม่นั่งอยู่กับที่นานๆ การที่นั่งติดอยู่กับที่ในระยะเวลานาน มีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง

เป็นที่พิสูจน์แล้วว่า การเคลื่อนไหว 5 นาที ทุกๆ ชั่วโมง ช่วยป้องกันโรคดังกล่าว Activity tracker หลายๆชิ้นมาพร้อมความสามารถแจ้งเตือนให้ขยับ (inactive alert) อย่าลืมใช้มันให้เป็นประโยชน์ล่ะ

 

พยายามอย่าถอด Activity tracker

ถ้าคุณได้เป็นเจ้าของ Activity tracker สักอัน เหตุการณ์ชาร์จแบตจนลืมทิ้งไว้คงจะเกิดขึ้นกับคุณ หากเกิดขึ้นหลายๆครั้ง ข้อมูลและสถิติการใช้ชีวิตจะไม่ต่อเนื่อง จนเริ่มรู้สึกว่าไม่อยากจะใส่ให้ยุ่งยากอีกต่อไป

วิธีแก้ไขหากคุณเป็นคนขี้ลืมและไม่ชอบการชาร์จแบตบ่อยๆ? หา Activity tracker ที่ไม่ต้องชาร์จแบตบ่อยๆ เช่น Garmin Vivofit 2 , Withings Pop หรือ ชาร์จแบตไว้ใกล้ๆกับโทรศัพท์นั่นเอง