นาฬิกาออกกำลังกายนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ นาฬิกาออกกำลังกาย และ สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ โดยแต่ละอุปกรณ์นั้นก็มีความสามารถแตกต่างกันไป หากคุณเป็นคนนึงที่ต้องการอุปกรณ์ที่ใช้ติดตามกิจกรรมระหว่างวัน ขอให้คิดถึงปัจจัยเหล่านี้ก่อน เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่เหมาะกับตัวคุณจริงๆ

เลือกซื้อนาฬิกาออกกำลังกายแบบไหน?

สำรวจความต้องการของตัวเองให้แน่ชัดว่าเราต้องการนำมาใช้กับการออกกำลังกายหรือกีฬา ชนิดใด? เพราะว่าคุณสมบัติในแต่ละตัวนั้นมีความสามารถแตกต่างกัน โดยความสามารถพื้นฐานที่นาฬิกาออกกำลังกายทุกตัวต้องมีคือ การนับก้าว คำนวนปริมาณแคลอรี่ที่ใช้ในแต่ละวัน และวัดคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งความสามารถทั้งหมดนี้ใช้เพียงเซ็นเซอร์ Accelerometer เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวจากข้อมือเพียงอย่างเดียว

ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายใดๆ การเลือกซื้อ นาฬิกาออกกำลังกาย หรือ Fitness tracker ที่มีความสามารถพื้นฐานและน่าเชื่อถือก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

แต่ในทางกลับกัน ถ้านำไปใช้กับการอออกกำลังกายที่เกี่ยวกับวัดความเร็ว เช่น ปั่นจักรยาน หรือ ไตรกีฬา ก็ควรต้องมี GPS, การวัดชีพจร และเซ็นเซอร์อื่นๆ เพิ่มเข้ามา

 

ทำความเข้าใจกับการวัดชีพจร

หากต้องการคำนวนการใช้แคลอรี่แบบแม่นยำที่สุด หรือต้องการออกกำลังกายในแบบ Interval การนับก้าวเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ คราวนี้การวัดระดับชีพจรจึงเข้ามามีบทบาท โดยสามารถแบ่งนั้นถูกแบ่งออกได้ 2 แบบ ดั่งนี้

1.การวัดชีพจรแบบใช้สายคาดหน้าอก 

นับว่าเป็นการวัดชีพจรที่แม่นยำที่สุด สามารถใช้กับการออกกำลังกายแบบ Interval ได้ดี ค่าชีพจรตอบสนองในแบบ Real-time และต่อเนื่อง แต่การสวมใส่สายคาดนั้น อาจอึดอัดและไม่สะดวกสบายนัก เมื่อเทียบกับการวัดชีพจรในแบบต่อไป

2.การวัดชีพจรแบบไร้สายคาดหน้าอก

เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากทุกแบรนด์ที่ต่างออกสินค้าใหม่ๆในแบบ Optical-HR-Wrist-Based หรือ วัดชีพจรทางข้อมือ ซึ่งความแม่นยำนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละแบรนด์ แต่ความแม่นยำโดยรวมแล้วยังสู้การวัดชีพจรแบบใช้สายคาดหน้าอกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การวัดชีพจรแบบไร้สายคาดนี้ นับว่าตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์หลายๆคนที่ต้องการความสะดวกสบาย ความง่ายในการสวมใส่อย่างมาก 

ต้องการติดตามสถิติอะไรบ้าง?

การนับก้าว และ วัดการนอนหลับ คือความสามารถหลักๆที่ทุกตัวล้วนมีติดตัว แต่อย่าได้คาดหวังหรือคิดว่ามันจะแม่นยำ 100% เพราะความสามารถนี้เป็นการวัดการเคลื่อนไหวจากข้อมือคุณอย่างเดียว หากต้องการความแม่นยำคุณอาจต้องใช้ GPS เพื่อวัดความเร็วในการวิ่ง , ใช้ Footpod เพื่อนับก้าวจากการเคลื่อนไหวที่เท้า, ใช้สายคาดวัดชีพจร เพื่อติดตามระดับชีพจรในแบบ Real time 

พิจารณาถึงข้อมูลสถิติที่คุณต้องการจะติดตาม ทำให้การเลือกนาฬิกาออกกำลังกาย หรือ สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ ง่ายขึ้น

 

เลือก App ที่ใช่ 

อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนมาพร้อมกับ Application บนสมาร์ทโฟนเฉพาะแบรนด์ ซึ่งในส่วนของ App ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวอุปกรณ์เลย โดย App นั้นมีให้ดาวน์โหลดแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ การที่ได้ลองเล่นและได้เห็นหน้าตา App จะช่วยให้เราได้เห็นภาพและวิธีการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

 

การอยู่ได้นานของแบตเตอรี่ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เรียกว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่นๆเลย ลองคิดดูว่าถ้าคุณต้องถอดออกมาชาร์จทุกๆวัน จะมีบางวันที่ลืมชาร์จทิ้งไว้ไหม? ถ้าลืมทิ้งไว้นานๆ ข้อมูลที่ติดตามก็จะไม่ต่อเนื่อง ทำให้เราเบื่อที่จะหยิบขึ้นมาใส่ไปซะดื้อๆ 

เลือก นาฬิกาออกกำลังกาย หรือ Fitness Tracker ที่ชาร์จ 1 ครั้ง ใช้ได้ 3-4 วันขึ้นไป อย่างเช่น Jawbone UP24  หรือ Fitbit Alta

 

การรับประกัน ความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือ

ราคาของนาฬิกาออกกำลังกายและสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพในทุกวันนี้มีความแตกต่างกันมาก เริ่มต้นตั้งแต่ 300 บาท (ของจีน) ไปจนถึง หลัก 2-3 หมื่นบาท แน่นอนว่าความแตกต่างนั้นมีหลายด้านเช่นกัน อาทิ ความแม่นยำของข้อมูลที่ติดตาม, วัสดุภายในและภายนอก, ความคงทน, ความสามารถของตัว Tracker,  Application, การรับประกัน และอีกมากมาย 

การเลือกซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ควรคำนึงถึงราคาที่ถูกเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพของเราโดยตรง ข้อมูลที่ได้รับมาควรใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด หากคุณพึ่งพาข้อมูลที่ห่างไกลจากความเป็นจริง อาจจะส่งผลให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงตามมา

 

เลือกซื้อ นาฬิกาออกกำลังกาย สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ Fitness tracker ครบที่สุดที่ https://tsmactive.com/